หน้าเว็บ

.

มะกอกป่า



มะกอกป่า      ANACARDIACEAE
Spondias pinnata (L.f.) Kurz

ชื่ออื่น       กราไพ้ย ไพ้ย (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) กอกกุก กูก (เชียงราย) กอกเขา (นครศรีธรรมราช) กอกหมอง (ชาน ภาคเหนือ) ไพแซ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่)

ชื่อสามัญ   Hog Plum

มะกอกป่าเป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง 5–25 ม. เปลือกต้นสีเทาค่อนข้างเรียบ ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ ก้านใบยาว 5–25 ซม. มีใบย่อย 4–6 คู่ แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน หรือรูปรี กว้าง 1.5–10.5 ซม. ยาว 4–26 ซม. ปลายแหลม หรือเรียวแหลม โคนกลม หรือมนเบี้ยว ขอบเรียบ หรือเป็นคลื่น เส้นแขนงใบย่อย 10–24 คู่ ปลายเส้นจรดกันเป็นเส้นขนานขอบใบ ก้านใบย่อยยาว 0.2–0.7 ซม. ดอก เล็ก สีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ผล รูปรี หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน  กว้าง 2.5–3.5 ซม.  ยาว 3.5–4.5 ซม.  สีเหลือง อมเขียว ฉ่ำน้ำ  เมล็ด มี 1 เมล็ด มีรอยแผลเป็น 5 รอย

        มะกอกป่ามีการกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าเบญจพรรณและป่าดิบชื้น ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 50–500 ม.

        ผลมีรสเปรี้ยวอมฝาด ใช้ปรุงรสอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น