หน้าเว็บ

.

มะโจ๊ก



ตะคร้อ  SAPINDACEAE
Schleichera oleosa (Lour.) Oken

ชื่ออื่น       ค้อ เคาะ โจ๊ก คอส้ม เคาะโจ๊ก มะโจ๊ก มะเคาะ ไม้ตะคร้อ ซะอู่เส่ก ไม้เคาะ (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กาซ้อ กาซ้อง คุ้ย (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ปันโรง (เขมร บุรีรัมย์) ปันรัว (เขมร สุรินทร์) ตะคร้อไข่ (ภาคตะวันตกเฉียงใต้)


        ตะคร้อเป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูงถึง 40 ม. เปลือกสีน้ำตาลเทา หรือสีดำ แตกล่อนเป็นสะเก็ดเล็กน้อย ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อย 2–4 คู่ เรียงตรงข้าม บางครั้งเยื้องกัน แผ่นใบย่อยรูปรี ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2.5–9 ซม. ยาว 4.5–20(–25) ซม. คู่ล่างเล็กกว่าคู่บน ปลายเว้าตื้น ถึงมน เป็นติ่งสั้นๆ โคนเบี้ยว ผิวใบด้านบนค่อนข้างเกลี้ยง ด้านล่างมีขน ดอก เล็ก สีเหลืองนวล หรือเขียวอ่อน กลิ่นหอม ออกเป็นช่อยาวถึง 15 ซม. ผล รูปไข่กว้าง ถึงค่อนข้างกลม กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 1.5–2 ซม. เมื่อแก่สุกสีเหลือง เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีเหลือง

        ตะคร้อมีการกระจายพันธุ์ในป่าเต็งรังและพื้นที่โล่งในป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 900–1,200 ม. ในต่างประเทศพบที่ศรีลังกา อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน และอินโดนีเซีย ออกดอกเดือนมกราคม–เมษายน ผลแก่เดือนมีนาคม–กรกฎาคม

        เนื้อไม้ใช้ในการอุตสาหกรรมไม้ ทำฟืนและถ่าน เปลือกใช้ย้อมสี ใบอ่อนกินเป็นผัก เยื่อหุ้มเมล็ดกินได้ เมล็ดนำมาสกัดเอาน้ำมัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น