หน้าเว็บ

.

พุดน้ำบุษย์



ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia carinata  Wall.
ตระกูล Rubiaceae
ชื่อสามัญ -
ชื่ออื่น ตะบือโก (มลายู นราธิวาส), บาแยมาเดาะ (มลายู นราธิวาส), ระนอ (มลายู ยะลา), ระไน (ยะลา), รักนา (ใต้,ภูเก็ต), รัตนา (ใต้)

ลักษณะทั่วไป พุดน้ำบุษย์ เป็นไม้พุ่มต้นเล็กหรือพุ่มเตี้ย สูงประมาณ 2 - 3 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามข้อของลำต้น ลักษณะใบสวยงามเพราะใบมัน หน้าใบสีเขียวเข็ม หลังใบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบสีเทา เป็นลายเห็นเด่นชัดสวยงาม เรียงใบเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบรูปรี กว้าง 5 เชนติเมตร ยาว 11 เซนติเมตร ลำต้นแก่สี
น้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวดอกเดี่ยวบริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสีเหลือง ความยาวของกลีบของกลีบดอก 2 เซนติเมตร มี 7 กลีบ คลายรูปช้อน ชูดอกอยู่บนก้าน ดอกบานนาน 7 วันเมื่อแรกแย้มบานมักเป็นสีออกขาวนวลส่งกลิ่นหอมมาก หอมไกล 2 - 3 เมตร เมื่อบานเข้าวันที่สองสีจะเริ่มออกเหลืองอ่อน ต่อมาค่อยๆ เหลืองเข้มจนกระทั้งเข้มจัด

ใบ ใบเรียงสลับแบบตั้งฉาก ใบเดี่ยว รูปรี กว้าง 3-6 ซม. ยาว 8-14 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบบางเป็นมัน ท้องใบสีเขียวเข้ม หลังใบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบสีขาวเห็นชัดเจนทางด้านท้องใบ เส้นใบเด่นชัดทั้งสองด้าน มีหูใบแบบ Interpetiolar stipule

ดอก ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเป็นแฉกสีเขียวอ่อน เชื่อมติดกันหุ้มรอบหลอดดอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีแสด เชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 10-12 ซม. ปลายแยกเป็น 7-8 แฉก เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. เกสรเพศผู้จำนวน 7 อัน ติดอยู่ระหว่างกลีบดอก เกสรเพศเมียยาวเลยหลอดดอก ดอกมีกลิ่นหอม ดอกที่เริ่มบานมีสีเหลือง บานอยู่ได้ 1-2 วัน ดอกใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม

ฤดูกาลออกดอก ออกดอกตลอดทั้งปี กลิ่นหอมตลอดวัน

การปลูกและการดูแลรักษา พุดน้ำบุษย์ปลูกได้ 2รูปแบบ คือ ปลูกลงดินกลางแจ้งยกแปลงสูง หรือปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งไว้ในที่มีแสงแดดส่องถึง หลังปลูกบำรุงดินด้วยปุ๋ยมูลสัตว์ประเภทขี้วัวขี้ควายแห้งโรยกลบฝังดินรอบโคนต้นหรือรอบขอบกระถางปลูก 15 วันครั้ง รดน้ำให้พอชุ่มทั้งเช้าและเย็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น