หน้าเว็บ

.

ผักเซียงดา



ผักเซียงดา เป็นผักพื้นบ้านของภาคเหนือ ใบมีสีเขียวเข้ม รสชาติของมันหวานมัน แบบที่ผักอื่นไม่มีทางสู้ได้ คนทางเหนือจะคุ้นเคยกับผักชนิดนี้ดีว่าอร่อยแค่ไห
   

ผักเซียง ดาเป็นไม้เถาเลื้อย ความยาวของเถาเลื้อยไปได้ไกลขึ้นกับอายุของไม้นั้น ลำต้นเขียว ทุกส่วนของต้นที่อยู่เหนือดินมียางสีขาว ขนาดของลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-5 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม หน้าใบเรียบหรือมีคลื่นเล็กน้อยใบมีรูปกลมรี ปลายแหลม ฐานใบแหลมใบมีก้านใบยาว 3.5-6 ซม. ใบกว้าง 9-11 ซม. ใบยาว 14.5-18.5 ซม. ผิวใบเรียบ ไม่มีขน ใบออกจากข้อเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน

ที่บ้าน เชียงใหม่ ผู้เขียนมีผักเซียงดาปลูกเรียงเป็นแผง สามารถเด็ดยอดมันมากินได้เกือบทุกสัปดาห์ มันขึ้นง่าย ยิ่งฝนตกมันจะขยันแตกยอด ยิ่งเก็บก็ยิ่งแตกยอด เนื่องจากมันเป็นผักพื้นบ้านจึงปลูกทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ได้ ไม่ต้องใส่ปุ๋ย ไม่ต้องห่วงว่าจะมีแมลงไปกัดกิน ดังนั้นการกินผักเซียงดา โดยเฉพาะที่ปลูกเองจึงมั่นใจได้ว่าไม่มีสารพิษมาทำอันตรายเรา

ผักเซี ยงดามีประโยชน์มากมาย โบราณเขาถือเป็นยาเย็นใช้เป็นยาลดไข้ อย่างเด็กเล็ก ๆ มีไข้สูงเขาจะเอาใบมันมาตำแล้วปิดกระหม่อมเด็ก ในสมัยใหม่ เรารู้ว่าใบที่มีสีเขียวปี๋ของมันมีเบตาแคโรทีนอยู่มากจึงเป็นผักที่มีสาร ต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก ต่อมาเรารู้อีกว่าใบผักเซียงดาสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดในรายที่เป็นเบา หวานลงได้อย่างดี

ล่า สุดนักวิทยาศาสตร์พบว่าผักเซียงดาเป็นสารต้านอนุมูลอิสระฤทธิ์แรง มีดัชนีของสารแอนติออกซิแดนท์สูงมากถึง 16.04 ผักเซียงดามีสารประกอบฟีนอลิคซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินซีสูงมาก ทั้งหมดนี้ทำให้ผักเซียงดามีบทบาทเป็นสารป้องกันและต้านมะเร็งได้ดี

ทุก วันนี้ผักเซียงดาเป็นสินค้าส่งออกไปญี่ปุ่น เพราะคนญี่ปุ่นถนัดนักในการหาพืชผักที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาบริโภค บ้านเขาเป็นเกาะ ความหลากหลายทางชีวภาพมีน้อยกว่าบ้านเรา คิดแล้วมันก็น่าเสียดายที่คนญี่ปุ่นรู้คุณค่าของผักเซียงดา แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักหน้าตาของมันและยังไม่รู้จะเอามาทำอะไรกินเลย

ผักแต้ว/ผักติ้ว



ชื่อ"ผักแต้ว/ผักติ้ว
วงศ์"GUTTIFERAE"
ชื่อวิทยาศาสตร์ "Gratoxylum formosum(Jack) Dyer ssp.pruniflorum(Kurz.) Gogelin
ชื่อพื้นเมือง "แต้ว(ไทย) ติ้วขน(กลางและนครราชสีมา) ติ้วแดงติ้วยางติ้วเลือด(เหนือ) แต้วหิน(ลำปาง)
กุยฉ่องเซ้า(กระเหรี่ยง ลำปาง) กวยโซง(กระเหรี่ยง
กาญจนบุรี)ตาว(สตูล)มูโต๊ะ(มาเลเซีย-นราธิวาส)
เน็คเคร่แย(ละว้า-เชียงใหม่)ราเง้ง(เขมร-สุรินทร์)ติ้วขาว
(กรุงเทพฯ)ติ้วส้ม(นครราชสีมา)เตา(เลย)ขี้ติ้ว ติ้วเหลือง
(ไทย) ผักติ้ว(อุบลราชธานี มหาสารคาม-อีสาน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นแต้วเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูง 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป
เปลือกสีน้ำตาลไหม้ แตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมา
ใบ มนแกมรูปไข่กลับ และรูปขอบขนาด กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-13 ซม. ออกเป็นคู่ ๆ ตรงกันข้าม โคนสอบเรียวส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบโตออกปลายสุดสอบเข้านื้อบางหลังใบมีขนสอง ท้องใบมีขนนุ่ม
หนาแน่น ดอกสีชมพูอ่อน ถึงสีแดง กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นดอก ผลรูปร่างรีขนาดกว้าง 1 ซม. ยาว
2 ซม. หรือย่อมกว่าเล็กน้อย มีนวลขาวติดตามผิว เมื่อแก่จัดออกเป็นสามแฉก เมล็ดสีน้ำตาล

ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล ยอดอ่อนใบอ่อนและช่อดอกอ่อนรับประทานเป็นผักได ยอดอ่อนและใบอ่อนผลิใน
หน้าฝนและหน้าหนาว ส่วยดอกออกสะพรั่งในช่วงปลายฤดูหนาว ฤดูร้อน ถึงต้นฤดูฝน
การปรุงอาหาร ชาวไทยภาคกลางและชาวอีสานรับประทานผักแต้วเป็นผักโดยที่ชาวไทยภาคกลาง
รับประทานยอดแต้วอ่อน เป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริกปลาร้า ดอกแต้วมีรสเปรี้ยวนิดๆจิ้มกับน้ำพริก
ปลา ร้ามีรสอร่อยมาก ส่วนชาวอีสานรับประทานยอดอ่อน ใบอ่อนและช่อดอกเป็นผักสดแกล้มลาบ ก้อย น้ำพริก ซุป หมี่กะทิ หรือนำไปแกง เพื่อให้อาหารออกรสเปรี้ยว(เป็นเครื่องปรุงรส) ส่วนดอกนำไปต้ม
แกง บางครั้งแกงรวมกันทั้งยอดอ่อนและดอกอ่อนเป็นผักที่ชาวอีสานนิยมรับประทานมากชนิดหนึ่ง
และมีจำหน่ายในท้องตลาดของท้องถิ่นอีสาน

รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
ยอดอ่อนและดอกอ่อนของผักติ้วมีรสเปรี้ยว ผักติ้ว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 58 กิโลแคลอรี่
ประกอบด้วยเส้นใย 1.5 กรัม แคลเซี่ยม 67 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม เหล็ก 2.5 มิลลิกรัม
เบต้า-แคโรทีน 4500 ไมโครกรัม วิตามินเอ 750 ไมโครกรัมของเรตินอล วิตามินบีหนึ่ง 0.04 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 0.67 มิลลิกรัม ไนอาซิน 3.1 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

http://www.baanmaha.com

ผักเฮือด



ชื่อผัก : ผักเฮือด, ผักเฮียด, ผักฮี
ประโยชน์ :ยอดอ่อนกินเป็นผักสดหรือใช้แกง ช่วยระบาย
ผักที่ให้วิตามินเอสูง

"ผัก เฮือด" นั้น คนเหนือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ผักเฮือก และ ผักฮี แถวโคราชเรียกว่า โพไทร กรุงเทพฯเรียกว่า ผักไกร ภาคกลางส่วนใหญ่เรียกว่า ผักเลียบ หรือ ผักเลือด เพชรบุรีเรียกว่า ผักไฮ คนประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า ไทรเลียบ

ผักเฮือด เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ และเป็นไม้ผลัดใบ อยู่ในเครือเดียวกับมะเดื่อลักษณะคล้ายต้นไทร สูง 8-15 เมตร ช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม จะทิ้งใบหมด และจะผลิใบใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ยอดผักเฮือดจะมีรสเปรี้ยว และมัน

หมอ พื้นบ้านทางภาคเหนือใช้เปลือกของต้นผักเฮือด ประมาณครึ่งถึงหนึ่งฝ่ามือสับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มดื่มแก้ปวดท้อง และมีข้อห้ามว่า หญิงแม่ลูกอ่อนที่มีอาการไอ ห้ามกินผักเฮือดจะทำให้โรคกำเริบขึ้น

การ กินผักเฮือดที่นิยมกันมี 2 วิธี วิธีแรก ใช้ยอดอ่อนของผักเฮือดกินสดๆ หรือนำไปลวก นึ่ง ลวกกับน้ำกะทิ ผักจิ้มกับน้ำพริก วิธีที่สอง นำยอดอ่อนใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหารพื้นเมือง ชาวเหนือนิยมนำไปแกงกับซี่โครงหมู แกงกับปลา หรือยำผักเฮือด แกงเผ็ด แกงกะทิ หรือต้มกะทิปลาเค็ม ส่วนชาวอีสานบางท้องที่นำไปแกง

ท่าน ที่มีโอกาสขึ้นไปทางเหนือ ลองหาเมนูที่ทำจากผักเฮือดลิ้มลองกันดู เพราะเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และถ้าอยากจะทำยำและแกงผักเฮือดกิน มีสูตรง่ายๆ ให้ลองทำกันดังนี้
ยำผักเฮือด
มีส่วนผสมของผักเฮือด ปลาช่อนขนาดเล็ก หอมแดง กระเทียม พริกแห้ง กะปิ ปลาร้า ถั่วเน่า น้ำมันพืช เป็นต้น นำเครื่องปรุงน้ำพริกทั้งหมดโขลกรวมกันให้ละเอียด ต้มปลาช่อนในน้ำเดือดให้สุก แกะเอาเฉพาะเนื้อปลา และนำเนื้อปลามาตำรวมกับน้ำพริกให้เข้ากันดี ส่วนน้ำต้มปลาเก็บไว้ ลวกผักเฮือดให้สุกและหั่นฝอย เอาน้ำมันตั้งในกระทะ ผสมกับน้ำต้มปลาและยกลงจากเตาใส่น้ำพริกผักเฮือด คลุกเคล้าให้เข้ากัน ซอยหอมแดงเป็นฝอยๆ โรยหน้า

แกง ผักเฮือดกับซี่โครงหมู
เครื่อง ปรุงประกอบด้วย ซี่โครงหมู ยอดผักเฮือด มะเขือส้ม น้ำมะขามเปียก น้ำปลา พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ เกลือป่น และกะปิ เป็นต้น นำเครื่องแกงทั้งหมดโขลกรวมกันให้ละเอียด ล้างซี่โครงหมู และผักเฮือดให้สะอาด และพักไว้ เอาน้ำใส่หม้อตั้งไฟ พอเดือดใส่ซี่โครงหมู เคี่ยวให้เปื่อย ใส่เครื่องแกงลงหม้อที่กำลังเดือด พอเดือดอีกครั้งใส่ผักเฮือด พอผักเฮือดนุ่ม ใส่มะเขือส้มที่ล้างสะอาดแล้ว จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก น้ำปลา ปรุงรสตามชอบแล้วยกลง

ที่มา : คม ชัด ลึก

ผักเพี้ยฟาน




ชื่อในตำรายา    ผักเพี้ยฟาน
ชื่อไทย    เพี้ยฟาน
ชื่อวิทยาศาสตร์     Macropanax dispermus Ktze.
วงศ์      Araliaceae

ไม้ พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นสีเขียวผิวเรียบ กิ่งสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวเรียงสลับ ออกจากกิ่งที่อยู่สลับกันบนลำต้น ในชนบทนิยมปลูกตามบ้านเรือนเพื่อใช้ยอดอ่อนรับประทานกับลาบ มีรสขม ไม้ที่อาจเรียกชื่อ เพี้ยฟาน ได้อีก ได้แก่ Clausena excavata Burm.f. ซึ่งนิยมเรียก สามโสก อยู่ในวงศ์ Rutaceae และ Pluchea indica (Linn.) Less. ซึ่งนิยมเรียก ขลู่ หรือ หนาดวัว อยู่ในวงศ์ Asteraceae

มีรายงานการวิจัยว่าสารสกัดจากใบมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีสารประกอบ phenolic ในปริมาณค่อนข้างมาก


ผู้เขียน นายไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว
ภาพประกอบโดยนายยุทธการ ขันชัย
http://www.prc.ac.th

มะเกลือ

มะเกลือ (Diospyros mollis Griff.)




มะเกลือเป็นพันธุ์ไม้วงศ์เดียวกับมะพลับ และตะโก เป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป พบมากในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ต้นที่โตเต็มที่ สูงได้ถึง ๒๐ เมตร เปลือกต้นสีดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ใบเดี่ยวรูปรี ปลายแหลม ยาวเพียง ๔-๕ ซม. ดอกสีเหลืองมี ๔ กลีบ ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมมาก แยกเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ผลกลม ผิวเกลี้ยง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ ซม. สีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่ มะเกลือออกดอกระหว่างเดือนมกราคมถึงกันยายน และติดผลระหว่าง เดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ในสมัยก่อน ผ้าสีดำที่คนไทยใช้ จะย้อมด้วยมะเกลือ โดยชาวบ้านย้อมกันเอง ผ้าย้อมมะเกลือสีดำสนิท สวยงาม ถ้ายิ่งซักหลายครั้ง จะยิ่งดำเป็นมัน แต่จะมีกลิ่นมะเกลือด้วยเสมอ ดังเช่นที่สุนทรภู่เขียนไว้ ในนิราศภูเขาทอง

แก่นไม้มะเกลือมีสีดำสนิท เนื้อละเอียดแต่แข็งและทนทานมาก มีน้ำหนักมากที่สุดในบรรดาไม้ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในเมืองไทย ใช้ทำเครื่องใช้เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องดนตรีได้ดีมาก นอกจากนี้ มะเกลือยังมี คุณค่าทางสมุนไพร ผลมะเกลือดิบเป็นยาขับพยาธิที่คนไทยรู้จักใช้กันมานาน โดยใช้ผลมะเกลือจำนวนเท่าอายุ เด็กที่ป่วย ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำใส่เกลือเล็กน้อย แล้วรับประทาน หรือคั้นน้ำ แล้วผสมกับน้ำกะทิรับประทานเป็นยาขับพยาธิ ต้องทำแล้วรับประทานทันที อย่าปล่อยให้เป็นสีดำ เพราะอาจ เป็นพิษทำให้ตามัว หรือตาบอดได้ นอกจากนี้ ยังมีการสกัดสารที่มีฤทธิ์ขับพยาธิจากผลมะเกลือนำมาผลิต เป็นยาเม็ดสำเร็จรูปใช้รับประทาน แต่มีรายงานว่า ผู้ใช้บางรายเกิดอาการตามัว หรือตาบอดจากยานี้เช่นกัน

ฝาง

ฝาง (Caesalpinia sappan Linn.)


ฝางเป็นไม้พุ่มใหญ่ หรือไม้ต้นขนาดเล็ก ซึ่งผลัดใบในช่วงเวลาสั้นๆ และแตกใบใหม่ได้อย่างรวดเร็ว มีหนามแข็งโค้งทั่วไปทั้งต้น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกคล้ายหางนกยูงไทย ดอกสีเหลือง ๕ กลีบ ออกดอกเป็นช่อ ที่ยอดและซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ฝักกว้างสั้นรูปขอบขนานปลายตัด และมีติ่งจะงอย แหลมอยู่มุมหนึ่งขนาดยาว ๗-๑๒ ซม. เมื่อแก่ ฝักจะมีสีน้ำตาลแกมแดง พบขึ้นเป็นกลุ่มตามภูเขาหินปูน ที่แห้งแล้ง และชายป่าดิบแล้งทั่วๆ ไป ฝางออกดอกระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน หลังจากนั้น ประมาณ ๓ เดือน ฝักก็จะแก่ ชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียก ได้แก่ ฝางส้ม ฝางเสน และหนามโค้ง การขยายพันธุ์ทำได้ ทั้งเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง

คนไทยรู้จักใช้แก่น และเนื้อไม้ฝาง ซึ่งมีสีเหลืองอมส้ม ย้อมผ้าฝ้าย และผ้าไหม ให้เป็นสีแดง อย่างสวยงามมาแต่โบราณ

มีบันทึกว่า สมัยอยุธยา ซึ่งไทยมีการติดต่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศจีน ได้มีการส่งไม้ฝางไปเป็นของขวัญ ถวายพระเจ้ากรุงจีน และขณะเดียวกันก็ส่งเป็นสินค้าออกไปขายทั้งในญี่ปุ่นและจีนด้วย นับว่าฝางเป็นของที่มีค่ามากอย่างหนึ่งตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน มีการส่งเสริมการใช้สีย้อมผ้าที่ได้ จากธรรมชาติ ฝางจึงได้รับความสนใจนำมาปลูก และใช้ย้อมผ้ากันมากขึ้น

แก่นไม้ฝางยังเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยอีกประการหนึ่ง คือ การนำมาทำน้ำยาอุทัย สำหรับผสมน้ำเย็นให้มีสีสวย ดื่มแก้กระหายให้ความชื่นใจ เป็นที่นิยมของคนไทย สีชมพูเข้มของน้ำยาอุทัย เป็นสีที่สดใสมาก แต่ปลอดภัยต่อการบริโภค เพราะสลายตัวง่าย ไม่สะสมในร่างกาย ตำรายาไทยใช้แก่นฝาง เป็นยาบำรุงโลหิต ขับประจำเดือน ใช้เป็นยาภายนอกรักษาน้ำกัดเท้าและแก้คุดทะราด

กรรณิการ์

กรรณิการ์ (Nyctanthes arbor-tristis Linn.)




กรรณิการ์เป็นไม้ดอกหอม ที่มีปลูกในเมืองไทยมา ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่า ผู้ใดนำเข้ามา

กรรณิการ์เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง ๒-๓ เมตร มีขนคายตามกิ่งก้านและใบ กิ่งมักเป็นสี่เหลี่ยม โดยเฉพาะกิ่งอ่อน ใบเดี่ยว ขนาด ๒.๕-๔ ซม. x ๕-๙ ซม. รูปไข่ หรือรูปใบหอกปลายใบแหลม ขอบใบเป็น รอยจักตื้นๆ ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ดอกสีขาวมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ ซม. ออกดอกเป็นช่อสั้น ทั้งที่ปลายกิ่ง และซอกใบ ดูผิวเผินคล้ายดอกมะลิ แต่มีขนาดเล็กกว่า เมื่อพิจารณาโดยละเอียดจะเห็นว่า ตัวหลอดกลีบดอกสีส้ม หรือสีแสด ปลายแยกเป็น ๕-๗ กลีบ กลีบบิดเวียนคล้ายกังหัน ปลายกลีบหยักเว้า เป็น ๒ แฉกไม่เท่ากัน กรรณิการ์จะออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน ดอกบาน และมีกลิ่นหอมใน เวลากลางคืน และเช้าผลแบน รูปร่างค่อนข้างกลม ปลายผลมีติ่งแหลมเล็กน้อย ในแต่ละผลมีเมล็ด ๒ เมล็ด

ดอกกรรณิการ์มีทั้งความสวย และกลิ่นหอม คนไทยจึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกในที่ได้รับแสงแดดมาก และดินดี ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง ชาวฮินดูถือเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ มักปลูกไว้ ตามโบสถ์และใช้ดอกบูชาพระ คนไทยไม่ใช้ดอกกรรณิการ์บูชาพระ อาจเป็นเพราะดอกบานในเวลากลางคืน ไม่สะดวก ในการเก็บ พอตอนเช้าดอกก็จะร่วงอยู่ตามดิน คนไทยก็จะไม่เก็บมาบูชาพระอีก เพราะร่วงลงสู่พื้นแล้ว

หลอดกลีบดอกสีแสดใช้ย้อมผ้าไหมให้มีสีเหลือง หรือสีส้ม สวยงาม เปลือกมีสารฝาด และเป็นสมุนไพร ใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้ปวดศีรษะ ใบใช้เป็นยาแก้ไข้และโรคปวดตามข้อ รากเป็นยาบำรุงกำลัง และยังสามารถสกัด น้ำมันหอมระเหยจากดอกนำไปใช้ทำน้ำหอมได้อีกด้วย

พุดซ้อน



ชื่ออื่นๆ :     เคดถวา (เหนือ)  พุดจีน พุดใหญ่ (กลาง)  พุทธรักษา (ราชบุรี)
ชื่อสามัญ :     Gerdenia, Cape jasmine, Garden gardenia, Kaca piring, Bunga cina (มาเลเซีย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :     Gardenia  jasminoides
วงศ์ :     Rubiaceae
ถิ่นกำเนิด :     ประเทศจีน
ลักษณะทั่วไป :     ไม้พุ่มกลมขนาดเล็กสูง 1 - 3 ม. แตกกิ่งก้านสาขามาก
ฤดูการออกดอก :     ออกดอกตลอดปี ที่สวนไม้หอมของฝ่ายปฏิบัติการวิจัยฯ ดอกบาน 2 - 3 วัน
เวลาที่ดอกหอม :     หอมแรงตลอดวัน

พุดแสงอุษา




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gardenia taitensis DC.
ชื่อสามัญ : Tahitian gardenia
ชื่อพื้นเมือง : พุดฮาวาย
วงศ์ : Rubiaceae

พุดแสงอุษาเป็นไม้ดอกหอมต่างถิ่นที่นำเข้ามาจากเกาะตาฮิติ (Tahiti) เป็นไม้พุ่มดอกหอม สูงประมาณ 2-3 เมตร ใบหนา สีเขียวเข้ม ผิวเรียบเป็นมันสวยงาม รูปทรงต้นจะเป็นพุ่มกลมโปร่ง แตกกิ่งก้านระดับต่ำจำนวนมาก

พุดพิชญา



ชื่อวิทยาศาสตร์:  Wringhtia antidysenterica R.Br.

ชื่อวงศ์:  Apocynaceae

ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็ก กิ่งก้านมีสีน้ำตาลแดง
    ใบ  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ ใบรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร  ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ผิวใบด้างล่างสีเขียวอ่อน
    ดอก  สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ช่อละ 5-6 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนปน

พุดจีบ



ชื่อสามัญ :             East Indian Rosebay Crepe Jasmine

ชื่อวิทยาศาสตร์ :     Ervatamia eornaria Stapf

วงศ์ :                    APOCYNACEAE

ชื่อพื้นเมือง :          พุดสวน พุดสา พุดป่า

ลักษณะทั่วไป :
พุดจีบเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑.๕- ๓เมตรแตกกิ่งก้าน สาขามาก ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยวรูปหอกออกเป็นคู่ ู่ตรงข้าม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน หน้าใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ดอกออกเป็นช่อ

พุดน้ำบุษย์



ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia carinata  Wall.
ตระกูล Rubiaceae
ชื่อสามัญ -
ชื่ออื่น ตะบือโก (มลายู นราธิวาส), บาแยมาเดาะ (มลายู นราธิวาส), ระนอ (มลายู ยะลา), ระไน (ยะลา), รักนา (ใต้,ภูเก็ต), รัตนา (ใต้)

ลักษณะทั่วไป พุดน้ำบุษย์ เป็นไม้พุ่มต้นเล็กหรือพุ่มเตี้ย สูงประมาณ 2 - 3 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามข้อของลำต้น ลักษณะใบสวยงามเพราะใบมัน หน้าใบสีเขียวเข็ม หลังใบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบสีเทา เป็นลายเห็นเด่นชัดสวยงาม เรียงใบเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบรูปรี กว้าง 5 เชนติเมตร ยาว 11 เซนติเมตร ลำต้นแก่สี

พุดแตรงอน



พุดแตรงอน (Euclinia longiflora Salisb.) มีชื่อสามัญว่า African Angel’s Trumpet ชื่อสามัญก็บอกอยู่แล้วว่า พุดแตรงอนเป็นไม้ดอกหอมจากต่างประเทศที่มาจากเขตร้อนของแอฟริกา

พุดแตรงอนเป็นไม้ดอกหอมในวงศ์ดอกเข็ม RUBIACEAE ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกันกับเพื่อนๆ ดอกพุดทั้งหลายนั่นเอง แต่ใบพุดแตรงอนจะเห็นเส้นใบย่อยเป็นร่องลึกชัดเจน สีเขียวสด เป็นมันเงาสวยงาม
ดอกพุดแตรงอน

มะกิ้ง



ชื่อวิทยาศาสตร์ :     Hodgsoia macrocarpa   var. capniocarpa   (Ridl.) Tsai ex A.M.Lu & Z. Y. Zang
 
ชื่อวงศ์ :     CUCURBITACEAE

ชื่ออื่นๆ :     ตรีหนุมาน

ลักษณะ :    
ไม้เถา เลื้อยพันขึ้นคลุมยอดไม้ มีมือจับแข็งแรง ใบ เป็นใบเดี่ยว เนื้อหนาคล้ายแผ่นหนัง กว้าง 17-18 ซม. ยาว 12-15 ซม. แผ่นใบหยักลึก แบ่งเป็นสามแฉก ก้านใบยาว 2.5 ซม. ดอก สีขาวครีม ค่อนข้างใหญ่ แยก

น้ำมะเกี๋ยงพร้อมดื่ม

กระบวนการผลิต
เตรียมผลมะเกี๋ยงสุก 2 ส่วน 
น้ำสะอาด 1 ส่วน ต้มให้เดือด 2 นาที 
บีบคั้นเอาแต่น้ำมะเกี๋ยงออกมามาปรับความหวาน ให้ได้ 12 องศาบริกซ์ ความเป็นกรดได้ร้อยละ 0.6 เติมเกลือเล็กน้อยคนให้น้ำตาลทรายละลาย 
แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง ต้มให้เดือด 10 นาที ขวดบรรจุขนาด 250 มล. 

มะเกี๋ยง



มะเกี๋ยง เป็นพืชในอันดับ Myrtales จัดอยู่ในวงศ์ Myrtaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cleistocalyx nervosum   var. paniala  ชื่อวิทยาศาสตร์เดิมของมะเกี๋ยงคือ Eugenia paniala Roxb.  ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้กันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2375 จากการศึกษาทบทวนพรรณไม้ในสกุล Eugenia และ Cleistocalyx ใน พ.ศ. 2536 โดย ดร.ประนอม จันทรโนทัย ได้เสนอให้จัดพืช Eugenia paniala   Roxb. มารวมอยู่ในสกุล Cleistocalyx  และ operculatus  เช่น

มะโจ๊ก



ตะคร้อ  SAPINDACEAE
Schleichera oleosa (Lour.) Oken

ชื่ออื่น       ค้อ เคาะ โจ๊ก คอส้ม เคาะโจ๊ก มะโจ๊ก มะเคาะ ไม้ตะคร้อ ซะอู่เส่ก ไม้เคาะ (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กาซ้อ กาซ้อง คุ้ย (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ปันโรง (เขมร บุรีรัมย์) ปันรัว (เขมร สุรินทร์) ตะคร้อไข่ (ภาคตะวันตกเฉียงใต้)

มะแฟน



ชื่ออื่น ๆ : ปี (ภาคเหนือ), ฟีแซ, พีแซ, ผี (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แฟนส้ม (เลย), ส้มแป้น (นครราชสีมา), มะแฟน (ภาคกลาง), กะโปกหมา, กะตีบ (ประจวบ), ค้อลิง (ชัยภูมิ)

ลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 20 เมตร

ใบ : ใบเป็นประกอบ มีใบย่อยประมาณ 7-9 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรียาว ปลายใบมีติ่งแหลม ส่วน

การทำน้ำสกัดเอนไซม์จากสมอไทย

การทำน้ำสกัดเอนไซม์จากสมอไทย

วัตถุดิบ

-สมอไทย ประมาณ 3กิโลกรัม
-น้ำตาลทรายแดง 1กิโลกรัม
-น้ำเปล่า จำนวน 5ลิตร


น้ำสมุนไพรตรีผลา

น้ำสมุนไพรตรีผลา

ตรีผลา (อ่านว่า ตี-ผะ-หลา) มาจาก คำว่า ตรีผล
คือ การนำผลไม้สามอย่าง มารวมกัน ประกอบด้วย
สมอไทย+สมอพิเภก+มะขามป้อม

สมอไทย  มีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ
สมอพิเพก  ขับปัสสาวะ ชุ่มคอ ชาวอินเดีย ใช้บำรุงกล่องเสียง
มะขามป้อม  มีวิตามินซี(c)สูงมาก และเป็นวิตามินซี ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ทนความร้อนได้ดี

สมอพิเภก



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Terminalia bellirica  (Gaertn.) Roxb.

ชื่อสามัญ :    Beleric myrobalan

วงศ์ :   Combretaceae

ชื่ออื่น :  ลัน (เชียงราย) สมอแหน (กลาง) แหน แหนขาว แหนต้น (เหนือ) สะคู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ซิบะดู่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)

สมอไทย



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Terminalia chebula  Retz. var. chebula

ชื่อสามัญ :   Myrabolan Wood

วงศ์ :   COMBRETACEAE

ชื่ออื่น :  มาแน่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) สมออัพยา (ภาคกลาง) หมากแน่ะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)

มะกอกป่า



มะกอกป่า      ANACARDIACEAE
Spondias pinnata (L.f.) Kurz

ชื่ออื่น       กราไพ้ย ไพ้ย (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) กอกกุก กูก (เชียงราย) กอกเขา (นครศรีธรรมราช) กอกหมอง (ชาน ภาคเหนือ) ไพแซ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่)

ชื่อสามัญ   Hog Plum

มะขามป้อม



มะขามป้อม (Indian gooseberry) เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรด้วย

มะขามป้อมเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ กันโตด (เขมร - กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)

เป้ง



ลักษณะของต้น เป้ง เป็น
ปาล์ม สูง 1-2 เมตร ลำต้นแข็ง ขนาดผ่าศูนย์กลาง 15-25 ซม. ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ยาว 60-180 ซม. ก้านใบยาวประมาณ 30 ซม. มีหนามที่ด้านบน ส่วนโคนเป็นกาบหุ้มลำต้น ใบย่อยแข็ง รูปใบหอกแกมยาว แผ่นใบห่อเป็นสามเหลี่ยม ปลายใบแหลมคล้ายเข็ม ดอกสีขาวครีม ต่างเพศอยู่ต่างต้นกัน ออกเป็นช่อสั้น แน่น ใกล้ส่วนโคน ขนาด 15-25 ซม. ช่อดอกมีกาบรูปกระทงขนาดใหญ่รองรับ ดอกย่อยอัด